ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
คอลัมน์ กระดานความคิด: อนาคตเกษตรไทย...เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง!!
04 May 2015
คอลัมน์ กระดานความคิด: อนาคตเกษตรไทย...เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง!!

          แนวคิดการปฏิรูปภาคเกษตรของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิรูปที่ดินและการปรับปรุงระบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งดูมีความเชื่อมโยงกันอยู่ และอาจจะเชื่อมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมของชาติได้อีกด้วย


          เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่ามีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งเอกชน ชาวบ้าน และชุมชนจำนวนหนึ่ง ได้เข้าไปทำกินในพื้นที่ของรัฐ เช่น ป่าสงวน พื้นที่ทับซ้อน หรืออาจเป็นพื้นที่ที่คนอยู่มาก่อนแล้วค่อยประกาศเป็นป่าในภายหลัง ในขณะที่บางพื้นที่ที่ไม่มีโฉนดก็จะจัดเป็นพื้นที่ป่าทั้งหมด เมื่อมีคนไปอยู่ก็ถูกฟ้อง ถูกจับ แนวคิด ดร.กอบศักดิ์นี้ จะได้ใช้วิธีใหม่ คือให้คนที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนยื่นเรื่องเข้าม แล้วรัฐหาทางออกให้ด้วยการจ้างให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่นั้น โดยรัฐจะไม่จ่ายค่าจ้างเป็นเงิน แต่จะเป็นการให้โอกาสเข้าทำกิน และมีเงื่อนไข คือต้องเฝ้ารักษาพื้นที่ป่าด้วยแนวคิดนี้น่าสนใจเพราะหากประสบความสำเร็จ นอกจากจะลดการบุกรุกพื้นที่ป่าของชาวบ้านแล้ว ยังทำให้มีการเฝ้ารักษาสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การลดการเผาป่า ช่วยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้อีกแรง


          เมื่อพูดถึงการปฏิรูปที่ดินที่เชื่อมโยงกับภาคเกษตรดังกล่าว..ก็ขอยกตัวอย่าง "โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า" ใน จ.ฉะเชิงเทรา ที่สามารถจัดการที่ดินอันรกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นแผ่นดินทองได้ อาจจะต่างกันตรงที่ ที่ดินหนองหว้าไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน หรือพื้นที่ป่า แต่เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่เจ้าของไม่สามารถเพาะปลูกพืชใดๆ ได้เนื่องจากเป็นดินปนทรายในลักษณะหลังเต่า ทั้งนี้ การปฏิรูปที่ดินให้สำเร็จ จะต้องจัดการควบคู่ไปกับ "โอกาสทำกิน" นั่นหมายถึง ต้องมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้เขาได้อย่างต่อเนื่องมั่นคงและยั่งยืน เมื่อมีความมั่นคงทางอาชีพทางรายได้แล้ว การใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลชุมชนของเขาด้วยความรักและหวงแหนก็จะตามมาโดยอัตโนมัติ ดังที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า


          นับว่าภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันการเงิน ที่ร่วมกันดำเนินโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว มีวิสัยทัศน์ยาวไกลมาก เขาปฏิรูปที่ดินรกร้างว่างเปล่า 1,200 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ 25 ไร่ ไว้ให้เกษตรกรยากไร้ ใช้ทำกินโดยไม่ได้ยกที่ดินให้ทันที แต่นำระบบเกษตรพันธสัญญาเข้ามาใช้ โดยให้เกษตรกรนำไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อกู้เงินมาลงทุนประกอบอาชีพเลี้ยงหมู พร้อมให้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในยุคนั้น รวมถึงวางระบบรับซื้อผลผลิตคืน ทำให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลว่าเลี้ยงหมูแล้วจะเอาไปขายใคร...


          เกษตรกรยากไร้แต่ละราย กว่าจะได้โฉนดที่ดิน 25 ไร่มาเป็นของตนเอง ก็ใช้เวลาราว 10 ปี ซึ่งแน่นอนว่าเกษตรกรกลุ่มนี้จะมีความภาคภูมิใจในตนเองอย่างมาก พร้อมๆ ไปกับการมีทักษะอาชีพเลี้ยงหมูที่ดี ตลอดจนความรักหวงแหนในที่ดินถิ่นฐานของตนเอง กลายเป็นความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ในรุ่นลูกรุ่นหลาน


          นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่อยากชี้ให้เห็นก็คือกาารแข่งขันในโลกความจริงของภาคเกษตร มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ต่างจากวงการแพทย์ วงการผลิตรถยนต์ หรือวงการอื่นๆ ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้น การให้โอกาสเกษตรกรในที่ทำกินและในอาชีพทำกินแล้ว คงยังไม่เพียงพอ ...เรื่องของเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่จึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ และอาจจะไม่เกินจริงเลย ถ้าจะกล่าวว่า "อนาคตเกษตรกรไทย จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยง"


          ในแนวคิดของ ดร.กอบศักดิ์ ที่มองว่า "สุดท้ายแล้วเกษตรกรจะอยู่ด้วยตนเองได้ยากเพราะภาคเอกชนโดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ไปไกลถึงขนาดใช้เทคโนโลยีดาวเทียมควบคุมการผลิตทั่วประเทศได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่กรุงเทพฯ ตลอดจนใช้หุ่นยนต์ในการจัดการโรงงานแล้ว ดังนั้น ทางเดียวที่จะช่วยให้เกษตรกรเข้มแข็งได่ ก็คือต้องร่วมมือกับเอกชน" การร่วมมือของเกษตรกรกับภาคเอกชน จะสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตรไทย ให้สามารถอยู่รอดได้ด้วยกันทั้งคู่ รวมไปถึงประเทศไทยที่จะสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก การตั้งข้อรังเกียจเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ หรือรังเกียจภาคเอกชนที่มีการวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะกลายเป็นการตีกรอบให้ภาคเกษตรไทยถอยหลังเข้าคลองได้


          การปรับตัว จึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับเกษตรกรรายใหญ่ที่สามารถเข้าถึงเงินทุนและเทคโนโลยีได้นั้น ก็ค่อนข้างจะมีศักยภาพในการปรับตัวได้ดีจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วนเกษตรกรรายย่อยที่ขาดแคลนเงินทุนมักถูกเอาเปรียบได้ง่าย ทางออกหนึ่งที่จะช่วยเหลือเกษตรกลุ่มนี้ได้พัฒนาไปพร้อมกับภาคส่วนอื่นในอุตสาหกรรม ก็คือการสร้างความเข้มแข็งโดยการรวมกลุ่มเกษตรกรซึ่งอาจเป็นในรูปสหกรณ์ก็ได้ เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองก่อนเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา


          ขณะเดียวกัน ผู้เขียนก็เห็นด้วยในมุมที่เล็กลงมาเกี่ยวกับสัญญาความเป็นธรรมต่างๆ ที่จะต้องมีการดูแลให้เกิดความเป็นธรรมและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ การเพิ่มการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากภัยธรรมชาติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ก็นับเป็นเรื่องที่ดีที่ต้องสนับสนุน เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาภาคเกษตรไทยทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคได้แน่นอน...ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

cr. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x